“KKU Research Journal of Humanities and Social Sciences (Graduate Studies)” serves as a medium for promoting and publishing research works in science and technology, along with new findings or new knowledge between researchers and society. It is also intended to establish scholarly communication which is correct, quality, transparent and compliant with publication standards.
Duties for concerned parties in KKU Research Journal of Humanities and Social Sciences (Graduate Studies) features three groups, namely authors, editors, and reviewers, who shall comply with regulations on duties as detailed below.
1. Authors must obtain from the co-author(s), if any, their approval for the manuscript submission.
2. Authors shall be held accountable for the copyright of the original article in all cases.
3. Authors whose names appear in the article should be actively involved in the research work.
4. Authors must certify that their manuscript is their original work and has not been previously published elsewhere.
5. Authors must report the research work honestly without any fabrication, falsification or data manipulation.
6. Authors must check their work thoroughly to ensure that all details of the manuscript to be published in the journal are correct and comply with international ethics standards.
7. Authors must accept criticism and can respond to that with additional details where needed.
8. Authors must refer to the works of other authors. Providing that such works are being used in the authors’ work, they must write a reference according to the referencing style guide in “Manuscript Preparation”.
9. Authors must write the manuscript correctly according to the format guide in “Manuscript Preparation”.
1. Editors are responsible for evaluating the quality of a manuscript for publication in the journal.
2. Editors must perform all duties carefully to certify the quality of a manuscript being published bearing in mind that the journal has the clearly-defined goals and standards.
3. Editors must justify or supply any information relevant to peer review processes and must be well-prepared to justify any potential deviation from peer review processes.
4. Editors must perform and complete all tasks of the journal within the specific period for publication
5. Editors must decide to accept or reject a manuscript for publication.
6. Editors must allow authors to issue an appeal providing that authors hold different opinions from editors.
7. Editors must not disclose any information of authors and reviewers to other parties who are not involved in any stage of paper evaluation whatsoever.
8. Editors must not reject a paper for publication solely on the basis of their suspicion or uncertainty; they must supply sound evidence to justify such doubt.
9. Editors must not reverse a decision to accept a paper which has been rejected.
10. Editors must check a paper for any plagiarism of other works.
11. In the event that editors are changed, newly-appointed editors must not reverse a decision to accept a paper which has been previously rejected by the former editors, unless proven appropriately and clearly.
12. Providing that editors detect any plagiarism of other works during the evaluation process, they must halt the evaluation processes and contact authors spontaneously to request clarification or justification for consideration of paper acceptance or rejection.
13. Editors must not publish a paper which has been previously published elsewhere.
14. Editors must have a management system which is not in conflict of interest with authors and reviewers as well as the editorial board.
15. Editors must support freedom of expression, maintain the correctness of the scholarly work and protect the intellectual property standards.
1. Reviewers must be supplied with a personal information protection system, except for the open evaluation of which authors and reviewers have been informed beforehand.
2. Reviewers must be supplied with a system which ensures that a paper sent for reviews is kept confidential during the evaluation process.
3. Reviewers must protect confidentiality and not disclose any information of a paper sent for consideration to uninvolved parties during the evaluation process.
4. After receiving a paper from editors, should reviewers realize that they are in conflict of interest with authors, e.g. participating in a project or being acquainted with authors or any other reasons which potentially interferes with unbiased or objective expression of thoughts, reviewers ought to report to editors and refuse to evaluate such a paper.
5. Reviewers must be fully aware of recommendations in all areas expected by editors and of revisions of recommendation which can relate or connect with such regulations.
6. Reviewers must evaluate a paper in their field of specialization based on the significance of the contents, the quality of analysis and the depth of the work itself.
7. Reviewers must not evaluate a paper on the basis of their subjective opinions without justifiable evidence as criteria for judging the paper.
8. Should reviewers realize that any part of a paper is similar to or overlaps other works, they must report to editors.
วารสาร “วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” เป็นสื่อกลางในการสนับสนุน ส่งเสริม และเผยแพร่ ผลงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนข้อค้นพบใหม่ ๆ ระหว่างนักวิจัย และสังคมภายนอก อีกทั้งมีเป้าหมายในการสื่อสารทางวิชาการอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์
บทบาทหน้าที่สำหรับบุคคลในวารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี 3 กลุ่ม คือ ผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการ (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ซึ่งได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในบทบาทและหน้าที่อย่างเคร่งครัด โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ผู้นิพนธ์ต้องได้รับความเห็นชอบในการส่งบทความจากผู้ร่วมนิพนธ์ (ถ้ามี)
2. ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของต้นฉบับในทุกกรณี
3. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
4. ผู้นิพนธ์ ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
5. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
6. ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบจนมั่นใจว่ารายละเอียดทุกส่วนในบทความวิจัยที่จะตีพิมพ์ในวารสารถูกต้องและต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมสากลที่ได้รับการยอมรับ
7. ผู้นิพนธ์ต้องยอมรับคำวิจารณ์ และสามารถชี้แจงตอบกลับได้โดยมีข้อมูลสนับสนุการวิจัยอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
8. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานวิจัยของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเองจะต้องจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความตามรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงใน “การเตรียมบทความ”
9. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดใน “การเตรียมบทความ”
1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
2. บรรณาธิการวารสารต้องดำเนินการทุกย่างเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ เพื่อรับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ตีพิมพ์ และตระหนักว่าวารสารมีวัตถุประสงค์และมาตรฐานที่ชัดเจน
3. บรรณาธิการวารสารต้องชี้แจง หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (Peer review) อีกทั้งมีความพร้อมในการชี้แจงความเบี่ยงเบนต่าง ๆ จากกระบวนการตรวจสอบ
4. บรรณาธิการวารสารต้องดำเนินการเกี่ยวกับวารสารให้ได้ตามกำหนดการตีพิมพ์วารสารที่ระบุไว้
5. บรรณาธิการวารสารต้องตัดสินใจในการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์
6. บรรณาธิการวารสารต้องมีช่องทางให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
7. บรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
8. บรรณาธิการวารสารต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความเพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจ โดยจะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ข้อสงสัยนั้น ๆ ก่อน
9. บรรณาธิการวารสารต้องไม่เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับบทความที่ได้ปฏิเสธการตีพิมพ์ไปแล้ว
10. บรรณาธิการวารสารต้องพิจารณาตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น
11. กรณีที่มีการปรับเปลี่ยนบรรณาธิการวารสาร ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ต้องไม่กลับคำตัดสินใจเกี่ยวกับบทความที่บรรณาธิการวารสารคนก่อนตอบปฏิเสธไปแล้ว ยกเว้นมีการพิสูจน์ได้อย่างเหมาะสมและชัดเจน
12. หากบรรณาธิการวารสารตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการวารสารต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ ตอบรับ หรือ ปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ
13. บรรณาธิการวารสารต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
14. บรรณาธิการวารสารต้องมีระบบในการจัดการที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความรวมทั้งกองบรรณาธิการ
15. บรรณาธิการวารสารต้องสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และคงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ อีกทั้งปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญา
1. ผู้ประเมินบทความต้องได้รับระบบปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ ยกเว้นกรณีที่มีการประเมินบทความแบบเปิด ซึ่งได้แจ้งให้ผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความรับทราบล่วงหน้า
2. ผู้ประเมินบทความต้องได้รับระบบที่ทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าบทความที่ส่งเข้ามาทำการประเมิน ได้รับการปกปิดความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน
3. ผู้ประเมินบทความ ต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
4. หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
5. ผู้ประเมินบทความต้องรับทราบคำแนะนำในทุกประเด็นที่บรรณาธิการวารสารคาดหวัง และต้องรับทราบการปรับปรุงคำแนะนำที่ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งสามารถอ้างอิง หรือเชื่อมโยงกับระเบียบดังกล่าว
6. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน
7. ผู้ประเมินบทความไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
8. หากผู้ประเมินบทความทราบว่ามีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบด้วย